คนไทยกว่า 50% ติดนอนตะแคง คุณก็เป็นใช่รึเปล่า
เมืองไทยอากาศร้อน นอนหงายแล้วเหงื่อมันชุ่มหลัง ไม่สบายตัว นอนตะแคงกอดหมอนข้าง ถนัดกว่าเยอะ
แต่ 20 ปีที่ผ่านมา สรีระคนไทยเปลี่ยนไปมาก ทั้งค่าเฉลี่ยส่วนสูงมากกว่าเดิม และราว 30% ยังเผชิญปัญหาโรคอ้วน
แล้วทำไม หมอนข้างส่วนใหญ่ที่เราทุกคนใช้ ยังหน้าตาเป็นหมอนทรงไส้กรอกกลมๆ แบบเดิม เหมือนที่เราเห็นมาตั้งแต่จำความได้
ทำไมเวลานอนตะแคง ตื่นมาแล้วมักปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดสะโพกข้างเดียว
ทำไมเวลาไปผ่าตัดข้อไหล่ สะบัก สะโพก หมอจะบอกว่าห้ามนอนตะแคง ถ้านอนตะแคงต้องหาหมอนที่รองรับให้ร่างกายไม่งอ ซึ่งต้องลงเอยด้วยการกอดหมอนหนุนศรีษะสองใบทดแทนหมอนข้าง
ทำไมนะ ทำไมไม่มีหมอนข้างใบเดียวจบ นอกจากกอดสบาย ไม่เมื่อย ยังช่วยให้นอนตะแคงหลับได้ดีขึ้น และดีต่อสุขภาพ
ไม่ใช่แค่คุณหรอกที่สงสัย
ดร.กภ. อิทธิ์ทณัฏฐ์ อิทธิวิภาต หรือ คุณอ๊อฟ นักกายภาพบำบัด และนักวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ผู้จบการศึกษาปริญญาเอกด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและผู้พิการ สงสัยเรื่องนี้มานานแล้ว ว่าทำไมไม่มีหมอนไทยที่ตอบโจทย์ทั้งนักกายภาพบำบัดและคนไข้เสียที
ความสงสัยนี้ได้คลี่คลายลุล่วง เมื่อ Haus64 ได้ชักชวนคุณอ๊อฟมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ลงมือวิจัยค้นคว้า และออกแบบหมอนข้าง “A-side”
ในเมื่อไม่มีหมอนถูกใจ ก็สร้างหมอนข้างในฝันที่อยากได้ขึ้นมาเองเลยดีกว่า ตามความตั้งใจว่าจะดีไซน์หมอนให้ใช้ได้ ใช้ดี สำหรับคนทุกรูปร่าง ไม่ว่ามีสรีระแบบไหน ชาวนอนตะแคงต้องได้เกี่ยวก่ายหมอนข้างอย่างสบายเป็นสุข
เบื้องหลังการออกแบบหมอนข้างแสนพิเศษนี้ คือการคิดเยอะ คิดมาก ทดลองแล้ว ทดลองเล่า จนได้สิ่งที่ดีที่สุด พัฒนาคุณภาพชีวิตในบ้านตามแบบฉบับ Haus64
หมอนข้างที่เมืองไทยไม่เคยมี
ด้วยอาชีพนักกายภาพบำบัด คุณอ๊อฟแนะนำชาวนอนตะแคงทุกคนเสมอว่า จงนอนกอดหมอนข้างที่พอดีกับสรีระ เพราะหมอนข้างจะคอยพยุงไม่ให้ร่างกายคว่ำหรือตัวห่อเข้าหากัน ซึ่งอาจจะทำให้ไหล่เราห่อ กระดูกสันหลังบิด สะโพกตก และตื่นมาเมื่อยขบได้
แต่เพราะหมอนข้างในท้องตลาดปัจจุบัน โดยเฉพาะหมอนทรงไส้กรอกไม่ใช่หมอนข้างเพื่อสุขภาพ ไม่ได้ออกแบบมาซัพพอร์ตการนอนหลับแบบตะแคงตามหลักกายภาพปัจจุบัน ส่วนหมอนข้างรูปทรงอื่นๆ ก็ยังแบนและสั้นเกินไป
“ผลการวิจัยวิทยาศาสตร์ชี้ว่า หมอนข้างควรจะยาวราว 140 เซนติเมตรขึ้นไป และมีความฟูกว้างเหมาะสมกับอกและไหล่ ซึ่งยังไม่มีหมอนแบบนี้ในท้องตลาดไทย อาจเพราะต้นทุนสูงและใช้เวลานานในค้นคว้า
ทั้งที่ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา คนทั่วโลกตัวสูงขึ้น รวมถึงคนไทยด้วย จากเดิมความสูงเฉลี่ย 160 เซนติเมตร กลายเป็น 165 – 170 เซนติเมตร แต่หมอนบ้านเรายัง 120 เซนติเมตรอยู่เลย ไม่โตตามตัวคนไทย เมื่อเทียบกับหมอนข้างของเมืองนอกที่เริ่มต้นที่ 140 เซนติเมตรแล้ว เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเราต้องพัฒนาหมอนข้างที่โตตามสรีระของคนไทย”
“ผมเก็บโจทย์จากคลินิก สังเกตพฤติกรรมการใช้หมอนข้างของคน จนเจอสาเหตุว่าหมอนข้างในเมืองไทยนั้นทั้งเล็กเกินไป เบาเกินไป ถ้าสูง 170 เซนติเมตรขึ้นไป กอดหมอนข้างทั่วไปแล้วต้องงอขากว่า 90 องศา สะโพกจะสูงแทบชิดอก เกินองศาความสบายที่ 30-60 องศาไปแล้ว” ดร.กายภาพบำบัดอธิบายให้เห็นภาพ
การเก็บข้อมูลและทดลองหาหมอนข้างที่ดีที่สุด เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2565 จนได้ออกมาเป็นหมอน A-side 2 ขนาด
แบบแรกคือหมอนข้างขนาด Medium สำหรับคนทั่วไป ขนาด 40×137 เซนติเมตร ใช้ได้ตั้งแต่คนสูง 145-170 เซนติเมตร ไม่ว่าร่างกายแข็งแรง เป็นออฟฟิศซินโดรม หรือมีปัญหาข้อไหล่ สะโพก ก็ใช้ได้
แบบที่สองคือขนาด Large 50×152 เซนติเมตร สำหรับคนที่มีความต้องการพิเศษ คือคนที่เอว 34 นิ้วขึ้นไป ไปจนถึง นักกีฬา นักกล้าม (ที่เรียกกันว่า “หุ่นก้ามปู”) ซึ่งปัจจุบันเป็นหมอนข้างแบรนด์เดียวในท้องตลาดที่รองรับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ
“คนที่เป็นโรคอ้วนในเมืองไทยมีเกิน 30% ซึ่งคนเหล่านี้นิยมนอนตะแคง เพราะนอนหงายแล้วหายใจไม่สะดวก แต่ดันไม่มีหมอนข้างที่ซัพพอร์ตเขาได้พอดี เป็นปัญหาสุขภาพที่ใหญ่มาก ส่วนคนท้องกอดหมอนข้างไม่ถนัดเพราะท้องดัน กอดหมอนแป๊บเดียว ไม่แขนหรือขาก็จะหลุดจากหมอน แต่หมอนนี้จะเว้ารับโอบกอดท้องได้”
หมอน A-side ตอบโจทย์การใช้งานพื้นฐานของทุกคน ทำให้เราบอกลาอาการเมื่อยสารพัด และไม่ต้องพลิกแพลงเอาหมอนหนุนศีรษะมากอดอีกต่อไป
หมอนข้างที่ออกแบบโดยนักกายภาพบำบัด
จากการวิเคราะห์โจทย์ รีเสิร์ชข้อมูลทั้งตลาดว่ามีวัสดุอะไรบ้าง สำรวจหมอนข้างยี่ห้อต่างๆ สืบค้นว่าคนไทยให้ความสำคัญกับปัจจัยอะไร คุณอ๊อฟได้ข้อสรุป Key Factor 4 ข้อ ว่านี่คือคุณสมบัติที่หมอนข้างควรมีเพื่อตอบโจทย์คนไทย
1. Support หมอนที่ดีต้องฟูซัพพอร์ตผู้ใช้ เมื่อกอดหมอน พื้นผิวหมอนจะไม่ยวบจนร่างกายห่อตัวหรือคว่ำ แต่ไม่แข็งจนเราไม่รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้ร่างกายเราคงท่านอนที่สบายได้ตลอดคืน
2. Stability หมอนต้องมั่นคง ไม่กลิ้งหนี ซึ่งหมอนไส้กรอกกลมๆ ทั่วไปขาดคุณสมบัตินี้ เวลาพลิกตัวเปลี่ยนท่า หมอนมักกลิ้งออกจากระยะแขนหรือหล่นจากเตียง ทำให้เราต้องเอื้อมไปเก็บ
หมอนข้างที่ดีต้องอยู่เคียงคู่กับผู้นอน ไม่ว่าจะพลิกตัวสักกี่ท่า โดยหมอนข้างของ Haus64 เป็นหมอนทรงแบนขนานกับเตียง มีน้ำหนักพอสมควร มั่นใจได้ว่าเปลี่ยนท่านอนแล้วหมอนไม่หายไปไหน เผลอไปเตะก็ไม่กลิ้งหนี แถมโค้งรับท่าที่เราถีบออกไปอย่างนุ่มนวล
3. Contour เมื่อมีน้ำหนักกดทับหมอน หมอนจะเปลี่ยนรูปร่างไปตามแรงกดที่เกิดขึ้น แต่ยังซัพพอร์ตร่างกายอย่างดี ไม่ว่าจะกอดรัดหมอนแน่นๆ หรือทิ้งตัวแบบไหน หมอนจะโอบรับร่างกาย ไม่มีส่วนเว้นว่าง ให้ความรู้สึกว่ากอดแล้วแนบสนิท รับโค้งเว้าของเรือนร่างเราได้พอดี จึงหลับสบายตลอดคืน
4. Cooling หมอนข้างมีคุณสมบัติระบายความร้อน เรื่องนี้คนไทยมักมองข้าม ทั้งที่เมืองไทยเป็นเมืองร้อน คนเหงื่อออกง่าย อุณหภูมิร่างกายคนเราอยู่ที่ 36-37 องศา ถ้าเครื่องนอนสะสมความร้อนจนเท่าอุณหภูมิร่างกาย เราจะรู้สึกไม่สบายเวลาสัมผัส นี่อาจเป็นสาเหตุให้เปลี่ยนท่านอนบ่อย พลิกตัวบ่อย หรือถีบหมอนข้างทิ้งอยู่บ่อยๆ
หมอนข้าง A-side จึงออกแบบให้ระบายอากาศได้ดี ตบแล้วมีลมไหลผ่านข้างใน กอดหรือขยับตัว ความร้อนก็ไม่สะสม กอดเพลินได้เรื่อยๆ ตลอดคืน
มั่นใจได้ว่า A-side มีคุณสมบัติครบ 4 ข้อ ขณะที่หมอนอื่นๆ ในท้องตลาดอาจตอบโจทย์เพียง 2 หรือ 3 ข้อเท่านั้น
“ในท้องตลาดมีหมอนข้างที่ใช้หลากหลายวัสดุ บางแบบอาจจะอัดเส้นใยมาแน่นจนไม่ยุบตัวตามรูปร่าง แข็งๆ หนาๆ ไม่นุ่มสบาย ไม่เปลี่ยนรูปร่างตามแรงกอด บางแบบอาจจะยวบเกินไป ไม่ซัพพอร์ตร่างกาย บางแบบอาจจะใช้ดี แต่ระบายความร้อนไม่ดี ความร้อนจากร่างกายเราจะสะสมในหมอน กอดนานๆ จะร้อนไม่สบายตัว ความร้อนตีกลับจนสะดุ้งตื่นก็มี”
“เราสร้างหมอนข้าง Basic Use ที่ตอบโจทย์ทุกคน โดย Haus64 ช่วยหาวัสดุที่เหมาะสม และค้นพบใยชนิดพิเศษที่ตอบโจทย์ที่สุด นุ่ม เด้ง ระบายอากาศดี จากการทดสอบเอาหมอนยัดใส่ใยน้ำหนักต่างๆ และค่อยๆปรับทีละนิด จนเจอน้ำหนักที่พอดี จากการลองให้คนกอดจนรู้สึกว่าพอดี เป็นจุด Optimum ที่รู้สึกสบายที่สุด”
หมอนข้างที่พัฒนาคุณภาพชีวิต
กว่าจะได้หมอน 2 ขนาดมาวางขาย คุณอ๊อฟได้ทดสอบหมอนข้างนี้กับนักกายภาพ คนไข้ และพนักงานออฟฟิศมากมาย A-side จึงเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงที่ได้ผ่านการทดสอบความน่าใช้จากผู้ใช้จริง
ด้วยความเป็น Universal Design นอกจากทำให้ทุกคนได้นอนสบาย ไม่ว่ารูปร่างแบบไหน ยังคำนึงถึงการใช้งานจริง หมอนข้างหน้าตามินิมัลเรียบง่าย วางบนเตียงแล้วเข้ากับห้อง ดูไม่แปลกแยกหรือรกบนเตียง แถมปลอกหมอนเข้าชุดกันจาก Haus64 เป็นขนาดเฉพาะ ตัดมาเพื่อหมอนนี้เท่านั้น
“ถึงผมจะเป็นนักวิจัยที่เน้นทำงานเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ แต่หลักการทำงานของผมคือช่วยเหลือทุกคนให้มีสุขภาพดีขึ้น ตอน Haus64 มาคุยกับผม บอกว่าอยากทำเครื่องนอนที่ช่วยให้คนนอนได้สบายขึ้น ให้ลูกค้ามีสุขภาพการนอนที่ดีขึ้นและมีชีวิตดีขึ้นจากการใช้สินค้า ผมรู้สึกว่าแบรนด์มี Principal การทำงานที่ตรงกับผมมากเลย นี่คือคุณค่าของการทำงานของเรา”
นอกจากทำหมอนข้างแล้ว คุณอ๊อฟยังมีแผนพัฒนาสินค้าชุดเครื่องนอนอื่นๆ ร่วมกับ Haus64 เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการนอนที่เหมาะสมและดีขึ้นสำหรับสรีระและพฤติกรรมคนไทย โดยมุ่งเน้นใช้ความคิดสร้างสรรค์และทรัพยากรไทยในการดีไซน์สินค้าคุณภาพยอดเยี่ยม และคุ้มค่าการเลือกซื้อ
“มีการลงทุน 2 อย่างในชีวิตที่คุ้มค่าแน่นอน 1 คือการทำงาน 2 คือการนอน เพราะทั้งสองอย่างนี้ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง ทุกคืนเรานอนวันละ 6-8 ชั่วโมง คิดเป็น เวลานอนคิดเป็น 1 ใน 3 ของชีวิต บางคนกล้าลงทุนแพงๆ กับการออกกำลังกาย ก็น่าจะลงทุนกับหมอนดีๆ ที่ใช้ 365 วันต่อปี เพราะหมอนที่รักร่างกายของเราจะดูแลเราทุกวัน”
“ชุดเครื่องนอนต่างๆ มีผลถึง 70 % ต่อร่างกายของเราโดยตรง สภาพแวดล้อมบนเตียงเป็นเรื่องใหญ่ที่เราทุกคนควรใส่ใจครับ” นักกายภาพบำบัดตบท้ายด้วยรอยยิ้ม